การเข้าศึกษา: ระดับปริญญาเอก
สมัครเรียนปริญญาเอก    

เปิดรับสมัครภาคการศึกษาปลาย
ปีการศึกษา 2567

ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 - 30 ตุลาคม 2567


ปริญญาเอก

หลักสูตรรองรับการขอทุนปริญญาเอก คปก. หรือ พวอ.  (ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาก่อน)

สนใจสอบถามรายละเอียดที่ foodtech@su.ac.th หรือที่อาจารย์ทุกท่าน




-------------------------------------------------------------------------------------------------
บัณฑิตปริญญาเอก
  • ดร.ทัศนีย์ ปลั่งกลาง  
  • ดร.สมัชชา กรุงแก้ว       อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • ดร.นิโลบล โกมลสิงห์     บริษัทเอกชน
  • ดร.จันจิรา จินโนรส         ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก
  • ดร.จันทร์จิรา ตั้งสันทัศน์กุล    อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • ดร.พิมพ์วลัญช์ อ่อนละเอียด    ธุรกิจส่วนตัว
  • ดร.คคนางค์ วิจารณ์ปรีชา    นักวิจัยหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Researcher)
  • ดร.ภาคย์ มาลัยกฤษณะชลี    อาชีพอิสระ
  • ดร.ขวัญใจ กลิ่นจงกล    อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • ดร.ปวิชญา โภชฌงค์    อาจารย์มหาวิทยาลัย
*ข้อมูล ณ ปี 2567
-------------------------------------------------------------------------------------------------
         ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เริ่มเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร  หรือ Ph.D. (Food Technology) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556

         การรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยศิลปากรดำเนินการโดยบัณฑิตวิทยาลัย ขอให้ผู้ที่สนใจติดตามกำหนดการและรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.graduate.su.ac.th หรือหากมีข้อสงสัยใดๆ นอกเหนือจากที่บัณฑิตวิทยาลัยแจ้งให้ทราบ สามารถสอบถามได้ที่หน้า "ถามตอบ" หรือทางอีเมล์ foodtech@su.ac.th หรือทางเพจ facebook/food.silpakorn





(สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป)
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 10/2565 วันที่ 19 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565

ชื่อหลักสูตร        ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ภาษาอังกฤษ      Doctor of Philosophy (Food Technology)

หลักสูตรแบบ 1.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 1.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) มีค่าเทียบเท่า 72 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

รูปแบบ  หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.1 และแบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปี
              หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.2 และแบบ 2.2 หลักสูตร 5 ปี

ปรัชญาหลักสูตร
              มุ่งสร้างนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาขั้นสูงโดยยึดหลักจริยธรรมการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งยังมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีความเป็นผู้นำและทำงานเป็นทีมได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes) PLOs

ลำดับที่

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

Cognitive Domain (Knowledge)

(Bloom’sTaxonomy (Revised))

Psychomotor

Domain

(Skills)

Affective

Domain

(Attitude)

R

U

Ap

An

E

C

S

At

PLO1

อธิบายหลักการที่สำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารได้

 

P

 

 

 

 

 

 

PLO2

นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารไปใช้ในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาได้

 

 

 

P

 

 

P

 

PLO3

เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้

 

 

P

 

 

 

 

 

PLO4

ประเมินและต่อยอดความรู้ในการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีอาหารต่าง ๆ ได้

 

 

 

 

P

 

 

 

PLO5

สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมในด้านเทคโนโลยีอาหารผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้

 

 

 

 

 

P

 

 

PLO6

ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอาหารด้วยการนำเสนอปากเปล่าในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติได้

 

 

P

 

 

 

 

 

PLO7

เขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติได้

 

 

 

 

 

P

 

 

PLO8

แสดงออกถึงพฤติกรรมความเป็นผู้นำ

 

 

 

 

 

 

 

P

PLO9

สามารถทำงานเป็นทีมได้

 

 

 

 

 

 

 

P

PLO10

คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดเชิงวิพากษ์ได้

 

 

 

P

 

 

 

 

PLO11

ปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัย

 

 

P

 

 

 

 

P






วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 สิงหาคม 2566

___________________________




        (สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป)

ชื่อหลักสูตร        ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ภาษาอังกฤษ      Doctor of Philosophy (Food Technology)

หลักสูตรแบบ 1.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 1.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) มีค่าเทียบเท่า 72 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

รูปแบบ  หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.1 และแบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปี
              หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.2 และแบบ 2.2 หลักสูตร 5 ปี

ปรัชญาหลักสูตร
            มุ่งสร้างนักเทคโนโลยีอาหารรุ่นใหม่ที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์องค์ความรู้ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความรู้เดิมสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้


ข้อมูลการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรจากเอกสาร มคอ. 2.
  • 13 ก.พ. 2562  ปรับปรุงหมวดที่  7 การประกันคุณภาพหลักสูตร  ข้อ 7 ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators)  รายละเอียด
  • 15 ก.พ. 2566 ปรับเปลี่ยนรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร รายละเอียด

ผลการรับนักศึกษาของหลักสูตรปริญญาเอก
  • ปีการศึกษา 2565 นักศึกษาจำนวน 1 คน (ทุนภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร)
  • ปีการศึกษา 2564 นักศึกษาจำนวน 2 คน
  • ปีการศึกษา 2562 นักศึกษาจำนวน 1 คน (ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์)
  • ปีการศึกษา 2561 นักศึกษาจำนวน 4 คน (ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คปก. จำนวน 1 ทุน ทุนภาควิชาจำนวน 1 ทุน)

เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับสอบเข้า
        
        ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ผู้สมัครต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ไม่ต่ำกว่าระดับ A2 (หากไม่มี  อนุโลมให้สมัครสอบได้ แต่ต้องมีผลคะแนนยื่นก่อนวันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา)  โดยเกณฑ์การเทียบเคียง CEFR เป็นไปตามประกาศนี้



เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับจบการศึกษา

        สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป ต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ไม่ต่ำกว่าระดับ B2



วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 มิ.ย. 2566




        (สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556-2560)

ชื่อหลักสูตร        ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ภาษาอังกฤษ      Doctor of Philosophy (Food Technology)

หลักสูตรแบบ 1.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 1.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) มีค่าเทียบเท่า 72 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี) ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

รูปแบบ  หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.1 และแบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปี
              หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.2 และแบบ 2.2 หลักสูตร 5 ปี

ปรัชญาหลักสูตร
           เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอาหารและความสามารถใน
การประยุกต์เทคโนโลยี




ข้อมูลการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรจากเอกสาร มคอ. 2.

8 ตุลาคม 2557 ยกเลิกรายวิชา ในหมวดวิชาเลือก  จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่
  • 612 721    อาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

30 มีนาคม 2559 เปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร

ผลการรับนักศึกษาของหลักสูตรปริญญาเอก
  • ปีการศึกษา 2560  นักศึกษาจำนวน 2 คน (ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คปก. จำนวน 1 ทุน, ทุนจากต้นสังกัดจำนวน 1 ทุน)
  • ปีการศึกษา 2559  นักศึกษาจำนวน 3 คน (ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม พวอ. ปริญญาเอก 1 ทุน, ทุนภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร 1 ทุน)
  • ปีการศึกษา 2558  นักศึกษาจำนวน 4 คน (ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คปก. จำนวน 1 ทุน, ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม พวอ. ปริญญาเอก จำนวน 1 ทุน, ทุนจากต้นสังกัดจำนวน 2 ทุน)
  • ปีการศึกษา 2557  นักศึกษาจำนวน 2 คน (ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คปก. จำนวน 1 ทุน, ทุนนักศึกษาปริญญาเอกของภาควิชาเทคโนโลยีอาหารจำนวน 1 ทุน)
  • ปีการศึกษา 2556  นักศึกษาจำนวน 1 คน (ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม พวอ. ปริญญาเอก)


ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology