ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร ประกอบด้วยคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีอาหาร/อุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลาย
คณาจารย์มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการทำวิจัย
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารจัดให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่พอเพียง
และจัดให้มีห้องสมุด
ห้องคอมพิวเตอร์ภายในภาควิชานอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ให้
มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับอำนวยความสะดวกในการเรียนแก่นักศึกษา
เช่น การตรวจสอบตารางสอน การตรวจสอบคะแนนสอบ การดาวโหลดเอกสารการเรียน
การส่งงาน ฯลฯ
เครื่องมือ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ภาคเอกชน โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นอย่างครบครัน
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เครื่องมือด้านการแปรรูปอาหาร
- เครื่องอบแห้ง (Tray dryer, Spray Dryer, Freeze Dryer, Solar dryer, Microwave Dryer, Drum Dryer)
- เครื่องแปรรูปอาหาร Extruder
- เครื่องมือด้านการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน (Thermal processing)
- เครื่องบรรจุแบบปรับบรรยากาศ
- Homogenizer
- เครื่องถ่ายเทความร้อนแบบท่อ
- เครื่องแยกกากผลไม้
- เครื่องทอดแบบสุญญากาศ, เครื่องทอดแบบสเปรย์
- เครื่องสกัด subcritical water
เครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีอาหาร
- เครื่องโครมาโตกราฟฟี ได้แก่ GC-MS, GC-O, GC-FID, HPLC-DAD, HPEAC-PAD, HPLC-FL
- เครื่องสเปกโทรโฟโตเมตรี ได้แก่ UV-vis, NIR
- เครื่อง DSC
- เครื่องมือวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน
- เครื่องมือวิเคราะห์ปริมาณไขมัน
- เครื่องระเหยแบบสุญญากาศ
เครื่องมือวิเคราะห์ในการควบคุมคุณภาพอาหาร
- เครื่องวัดขนาดอนุภาค (Particle size analyzer)
- เครื่องวัดสี, เครื่องวัดค่า Aw, Texture analyzer, Rheometer, RVA
- ห้องทดสอบทางประสาทสัมผัสพร้อมระบบซอฟท์แวร์ประมวลผล (SU-Sense)
- ห้องตรวจสอบทางจุลินทรีย์