การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:อรพรรณ​ ศิริจิตร​ และ​ โสภาค​ สอนไว. 2566.การศึกษาองค์ประกอบไตรกลีเซอไรด์ คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และ พฤติกรรมการตกผลึกและการหลอมเหลวของน้ำมันเยื่อกะลามะพร้าว. ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 2 (2nd NACON-NARAHS) vol 1 หน้า​ 232-239
The study of triacylglycerol compositions, physicochemical properties crystallization and melting behaviors of coconut testa oil
บทคัดย่อ:น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ได้รับการรายงานว่ามีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง และลดอาการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้ความต้องการบริโภค น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เพิ่มสูงขึ้น โดยในกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์นั้นโดยทั่วไปแล้วส่วนของ เยื่อกะลามะพร้าวไม่ได้นำมาใช้ในการสกัดน้ำมันด้วย ทำให้เกิดเยื่อกะลาเป็นของเหลือทิ้งในปริมาณมาก ซึ่งเยื่อกะลามะพร้าวเป็นเยื่อสีน้ำตาลที่ห่อหุ้มติดกับเนื้อมะพร้าว โดยปกติจะถูกนำไปขายในราคาต่ำเพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ หรือถูกทิ้งโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทั้งที่ในเยื่อกะลานั้นมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาองค์ประกอบและคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำมันเยื่อกะลามะพร้าว (coconut testa oil, CTO) ได้แก่ องค์ประกอบไตรกลีเซอไรด์ พฤติกรรมการการตกผลึกและการหลอมเหลว และปริมาณสารประกอบฟีนอลิก โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับน้ำมันที่ผลิตจากส่วนต่างๆ ของผลมะพร้าว ได้แก่ เนื้อมะพร้าว (coconut kernel oil, CKO) เนื้อมะพร้าวติดเยื่อกะลามะพร้าว (virgin coconut oil, VCO) และน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกรรมวิธี (refined coconut oil, CNO) พบว่า CTO ประกอบไปด้วยไตรกลีเซอไรด์ชนิด CaCaLa, CaLaLa, LaMO และ LaLaM เป็นหลัก ซึ่งมีในปริมาณที่แตกต่างจากตัวอย่างอื่น ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมการตกผลึกและการหลอมเหลวต่างไปจากตัวอย่างอื่น ๆ โดย CTO เริ่มตกผลึกและเข้าสู่สมดุลอย่างรวดเร็ว และมีพีคการหลอมเหลวต่ำกว่า (21.80 องศาเซลเซียส) ตัวอย่างอื่น ๆ แต่หลอมเหลวหมดช้าที่สุดและมีค่าความเป็นของแข็งในรูปผลึกช่วงอุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าตัวอย่างอื่น ๆ แต่มีค่าสูงกว่าช่วงอุณหภูมิ 25-26 องศาเซลเซียส และ CTO มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 1.52 มิลลิกรัมกรดแกลลิคต่อ 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าตัวอย่างอื่น ๆ จึงควรมีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ CTO ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
Virgin coconut oil has been reported to provide many health benefits such as increasing the fat metabolite, having high antioxidant, being anti-cancer and decreasing the chance of having cardiovascular disease. As a result, the consumption of virgin coconut oil has increased. In the process of virgin coconut oil production, the coconut testa is removed from the coconut kernel and only the kernel is used to extract the oil. This leads to a large amount of coconut testa being discarded as waste. In general, the testa, which has a high oil content, is either used as low-value feed ingredient or simply discarded. Although, in the coconut testa there is oil as a component, this research aimed to study the triglyceride compositions, crystallization and melting behavior and total phenolic content of testa oil in comparison with virgin coconut oil that produced from coconut kernel only (CKO), coconut kernel with testa (VCO) and coconut refined oil (CNO). It was found that the main triglyceride components in CTO were CaCaLa, CaLaLa, LaMO and LaLaM. The content of these triglycerides in CTO were different than in the samples, resulting different crystallization and melting behavior. CTO crystallized and reached equilibrium rapidly and had a melting peak temperature (21.80 °C) lower than other samples. It melted more slowly than the other samples with lower solid fat content at 10-20 °C but higher solid fat content at 25-26 °C. More importantly, its showed phenolic content of 1.52 mg GAE/100g, highest among all samples. Therefore, the utilization of CTO extracted from coconut testa should be encouraged.
ผู้จัดทำ:640920032 : นางสาวอรพรรณ ศิริจิตร
รองศาสตราจารย์ ดร.โสภาค สอนไว
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(docx)
รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
แฟ้มอื่นๆ:รางวัลภาคบรรยาย(jpeg)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology