การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:ภัสนันท์ เกิดแก้ว กนกวรรณ กิ่งผดุง. 2564.การวิเคราะห์เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบลมร้อนสำหับห่วงโซ่คุณค่ามะม่วงอบกรอบ ในการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 11 หน้า S122-S130.
Techno economy analysis of hot air oven for crispy mango value chain.
บทคัดย่อ:วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงอบกรอบด้วยการอบแห้งแบบลมร้อน ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายและมีราคาเหมาะสม เป็นที่นิยมใช้ในการเก็บรักษาอาหารของการแปรรูปผลไม้ในประเทศไทย โดยจะใช้เครื่องอบลมร้อนอบแห้งมะม่วง 2 สายพันธุ์ คือ น้ำดอกไม้และแก้วขมิ้น ระหว่างกระบวนการอบแห้งจะหั่นมะม่วงเป็นแผ่นบาง แล้วลดความชื้นลงจาก 85.6% เหลือ 12.5% ฐานเปียก ซึ่งสภาวะของกระบวนการทำแห้งของเครื่องอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70, 80 และ 90°C และความเร็วลมคงที่เท่ากับ 1 เมตรต่อวินาที จะทำศึกษาและวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบแห้ง โดยทำการวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร เช่น ค่าจ่ายในการผลิต ค่าเงินลงทุน ค่าบำรุงรักษา ค่าดำเนินการ และรายได้จากการขาย รวมถึงประสิทธิภาพในการผลิต จากนั้นทำการคำนวณหาค่าระยะเวลาคืนทุน และอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำในการลงทุน จากผลวิจัยสรุปได้ว่า การลงทุนเครื่องอบแห้งลมร้อนสำหรับทำมะม่วงอบกรอบพันธุ์น้ำดอกไม้ให้ผลตอบแทนในลงทุนสูงกว่าพันธุ์แก้วขมิ้น เนื่องจากมีค่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำในการลงทุนที่สูงกว่าและมีระยะเวลาการคืนทุนที่เร็วกว่าหรือสั้นกว่า ต่อมาทำการศึกษาผลกระทบต่อสมบัติเชิงหน้าที่ด้านสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากการทำแห้งมะม่วงอบกรอบด้วยเครื่องอบลมร้อน พบว่ามะม่วงน้ำดอกไม้อบกรอบมีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ด้านสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงกว่าแก้วขมิ้นทั้งปริมาณฟีนอลทั้งหมดและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ
The aim of this study was to determine economic efficiency and quality of product dried crispy mango with hot air drying. Hot air drying are widely used and inexpensive techniques for the preservation of fruits production in Thailand. Hot air drying method was used to dry mango fruit variety Nam Dok Mai and Kaew Kamin. During the drying process, moisture content of mango slices (2,500g load for each batch) was reduced from 85.6% to 12.5% wet basis. The drying process of hot air was performed at air temperature of 70, 80 and 90°C and the air velocity was fixed at 1 m/s. To determine the most profitable dryer system for investment, economic analysis of hot air drying, involving the main variables that affect its profitability such as production cost, operating cost, maintenance cost, capital cost, and revenue from selling price, energy efficiency, and drying capacities were investigated. The payback period (PBP) and internal rate of return (IRR) were evaluated. It was found that hot air drying of Nam Dok Mai offered better return on investment than hot air drying of Kaew Kamin according to its higher value of IRR with lower value of PBP. Functional properties in terms of bioactive compounds in crispy mango were determined subsequently. It was found that crispy Nam Dok Mai mango higher total phenolic compounds and antioxidant capacity.
ที่ปรึกษา:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ กิ่งผดุง
ผู้จัดทำ:620920027 : นางสาวภัสนันท์ เกิดแก้ว
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
แฟ้มอื่นๆ:แฟ้มข้อมูล(pdf)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology