การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:สิริกัญญา กระต่ายทอง และ ธัชพงศ์ ชูศรี. 2563. ผลของการทำแห้งด้วยลมร้อนภายใต้สภาวะความดันต่ำต่อจลนพลศาสตร์การทำแห้ง และคุณภาพทางเคมีกายภาพของมะม่วงสุกอบแห้ง. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 10. วันที่ 25-26 มิถุนายน 2563. นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบออนไลน์. S150-S157.
Effects of Low Pressure Hot Air Drying on Drying Kinetics and Physicochemical Properties of Dried Ripe Mangoes
บทคัดย่อ:การทำแห้งด้วยลมร้อนภายใต้สภาวะความดันต่ำ เป็นกระบวนการทำแห้งที่พัฒนาขึ้น โดยการนำข้อดีของการทำแห้งด้วยลมร้อนมาผสมผสานกับข้อดีของการทำแห้งแบบสุญญากาศ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ ลดระยะเวลาที่ใช้ในการทำแห้งลง และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทำแห้งด้วยลมร้อนภายใต้สภาวะความดันต่ำที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70 องศาเซลเซียส และความดัน 6, 8 และ 10 kPa ต่อจลนพลศาสตร์การทำแห้ง และสมบัติทางเคมีกายภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสี การหดตัว และการคืนตัว ของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองสุกอบแห้ง ผลการศึกษา พบว่า การทำแห้งด้วยลมร้อนภายใต้สภาวะความดันต่ำที่อุณหภูมิสูงและความดันต่ำช่วยเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น (Deff) และการทำแห้งด้วยลมร้อนภายใต้สภาวะความดันต่ำมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นสูงกว่าการทำแห้งด้วยลมร้อนที่ความดันบรรยากาศ ชิ้นตัวอย่างที่ผ่านการทำแห้งด้วยลมร้อนภายใต้สภาวะความดันต่ำมีการอัตราการคืนตัวสูง ทั้งยังมีอัตราการหดตัวและค่าการเปลี่ยนแปลงสีโดยรวมต่ำกว่าการทำแห้งด้วยลมร้อนที่ความดันบรรยากาศ
The Low Pressure Hot Air Drying (LPHAD) is an innovative drying process that combines advantages of hot air drying and vacuum drying. This drying is capable to produce dried fruits with high quality product, low operational cost and reduced processing time. The aims of this work were to study the effect of LPHAD on drying kinetics and physicochemical properties of dried ripe mangoes. The mangoes were dried at air temperatures of 50, 60 and 70๐C and pressure at 6, 8 and 10 kPa. The results found that the samples dried by LPHAD with high temperature and low pressure provided a higher effective moisture diffusivity (Deff) than Hot Air Drying at atmospheric pressure. The LPHAD also provided more rehydration ratio and lower %shrinkage of the sample than Hot Air Drying. The sample color changes of the LPHAD were lower than that of atmospheric Hot Air Drying.
ที่ปรึกษา:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ ชูศรี
ผู้จัดทำ:61403204 : นางสาวสิริกัญญา กระต่ายทอง
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(docx)
รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
Presentation:Presentation(pptx)
แฟ้มอื่นๆ:แฟ้มข้อมูล(pdf)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology