การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:วิลาวัณย์ จึงมานะกิจ. 2561. ผลของการอบแห้งด้วยลมหมุนต่อสีของมะม่วงสุก. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ คร้ังที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. 752-760.
Effect of swirling air flow drying on color of ripe mango
บทคัดย่อ:งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของลักษณะการไหล และอุณหภูมิของลมร้อนต่อจลนพลศาสตร์ และสีของมะม่วงสุกตลอดกระบวนการอบแห้ง โดยลักษณะการไหลของลมร้อนที่ใช้ในการอบแห้งประกอบด้วยการไหลแบบลมตรง และลมหมุน ส่วนอุณหภูมิลมร้อนเป็น 50 60 และ 70 ๐C ใช้ความเร็วลมคงที่ 2 m/s การติดตามการเปลี่ยนแปลงสีของตัวอย่างในระหว่างกระบวนการอบแห้งจะใช้ระบบ Computer Vision System (CVS) และประมวลผลภาพ (Image processing) เพื่อวิเคราะห์สีของตัวอย่างเป็นค่า L*, a*, b* และ ΔE* จากการศึกษาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น (Effective moisture diffusivity: Deff ) จากการการอบแห้งด้วยลมหมุนมีค่าสูงกว่าแบบลมตรง โดยการอบแห้งที่อุณหภูมิสูงมีค่า Deff สูงกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ โดยค่า Deff จากการอบแห้งแบบลมตรง และลมหมุนที่อุณหภูมิลมร้อนเป็น 50 60 และ 70 ๐C มีค่า (1.24, 1.45, 1.95, 1.30, 1.96, 2.30)10-9 m2/s ตามลำดับ ในระหว่างกระบวนการอบแห้ง ΔE* มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นแสดงถึงสีของตัวอย่างโดยรวมมีการเปลียนแปลงไปจากเดิมมากขึ้นตลอดกระบวนการ ΔE* ของตัวอย่างจากการอบแห้งแบบลมตรง และลมหมุนที่อุณหภูมิลมร้อนเป็น 50 60 และ 70 ๐C มีค่า 0.215, 0.409, 0.301 และ 0.238, 0.317, 0.253 ตามลำดับ จากแนวโน้มของค่า ΔE* จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสีของตัวอย่างจากการอบแห้งแบบลมหมุนเกิดขึ้นน้อยกว่าแบบลมตรง
The effect of air flow characteristics and air temperature in hot air drying on kinetics and total color difference (ΔE*) during the drying process was investigated. The experiment was performed by two types air flow characteristics: swirling and non swirling air flow using hot air temperature at 50, 60 and 70๐C with 2 m/s air velocity. Computer Vision System (CVS) was used for monitoring color changes of sample and Image processing was used for color analysis in system of L* a* and b* and ΔE*. The results indicated that Effective moisture diffusivity (Deff) of swirling air flow was higher than that of non swirling air flow. The Deff of swirling and non swirling air flow at 50, 60 และ 70๐C was (1.24, 1.45, 1.95) 10-9 and (1.30, 1.96, 2.30)10-9 m2/s, respectively. The ΔE* tended to increase. This result showed that the color was more changes throughout the drying period. The ΔE* of swirling and non swirling air flow at 50, 60 และ 70๐C was 0.215, 0.409, 0.301 and 0.238, 0.317, 0.253, respectively. Accordingly, the color changes of the sample from swirling air flow was less than that from non swirling air flow.
ที่ปรึกษา:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ ชูศรี
ผู้จัดทำ:60403205 : นางสาววิลาวัณย์ จึงมานะกิจ
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(docx)
รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
Presentation:Presentation(pptx)
แฟ้มอื่นๆ:แฟ้มข้อมูล(pdf)
แฟ้มข้อมูล(jpg)
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology