การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:ร่มเกล้า เชาวน์ชำนาญ, ณภพ อมรปรีชาชัย, สุเชษฐ์ สมุหเสนีโต และปริญดา เพ็ญโรจน์. การสำรวจความต้องการของผุ้บริโภคต่อเครื่องดื่มตรีผลา. งานประชุมวิชาการระดับชาติทางประสาทสัมผัสครั้งที่ 2 ประจำปี 2557. 74.
บทคัดย่อ:ตรีผลา เป็นตำรับยาดั้งเดิมของไทยประกอบด้วย ผลไม้ 3 ชนิดได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ตรีผลามีปริมาณวิตามินซี และสารประกอบฟีโนลิคสูง มีสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ นำมาใช้ในการต้านเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคต่อเครื่องดื่มตรีผลา โดยการสำรวจผู้บริโภคที่เป็นผู้รักสุขภาพในโรงพยาบาลนครปฐม 59 คน และนำเครื่องดื่มตรีผลาที่มีขายในท้องตลาด 4 ยี่ห้อ (A-D) มาทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยการทดสอบความชอบด้วยวิธี 9-point hedonic scale และวิเคราะห์สารประกอบฟีโนลิคและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ ผลการสำรวจพบว่า วัตถุประสงค์หลักในการเลือกดื่มเครื่องดื่มสมุนไพร คือ ดื่มเพื่อสุขภาพ ในด้านบำรุงผิวพรรณและชะลอวัย รองลงมา คือ เพื่อรักษาโรคและป้องกันโรค โดยบริโภค 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จากผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า เครื่องดื่มตรีผลายี่ห้อ C และ D ได้คะแนนความชอบรวมมากกว่ายี่ห้อ A และ B จากการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์พบว่า ทุกลักษณะคุณภาพ คือ รสชาติโดยรวม ลักษณะปรากฏ สี กลิ่นรส และความหนืด มีความสัมพันธ์กับคะแนนความชอบโดยรวม เครื่องดื่มตรีผลายี่ห้อ C และ D อยู่ในช่วงชอบปานกลางซึ่งมีปริมาณสารประกอบฟีโนลิค 153.52-163.75 mg GAE/100 ml และสมบัติการกำจัดสารอนุมูลอิสระอยู่ในช่วงร้อยละ 7.12-18.41
Triphala is a Thai traditional medicine. It consists of three plants fruit, Terminalia chebula Retz., Terminalia bellerica Roxb. and Phyllanthus emblica Linn. in equal proportions. It has high content of vitamin C, phenolic compounds and antioxidative property. It is also used as anticancer. It can decrease cholesterol and blood sugar level. The objective of this study was to survey consumer acceptance by using 59 health concerning consumers in Nakorn Pathom Hospital. Sensory properties and antioxidative properties of four local Triphala drink were investigated. Sensory evaluation was done by using 9 point hedonic scale. Antioxidative properties were determined by measuring total phenolic content and DPPH radical-scavenging capacity. It was found that the main purpose of consuming herbal drink was for health, especially maintain healthy skin and anti-aging. The other purpose were using as medicine and for disease prevention, respectively. They drink 2-3 times per week. Sensory evaluation test showed that the consumer like Brand C and D more than A and B. Corelation Analysis showed that all sensory attributes, appearance, color, flavor and viscosity, had effect on the overall liking score. The consumer moderately like brand C and D which had total phenolic content and DPPH radical-scavenging capacity in the range of 153.52-163.75 mg GAE/100 ml and 7.12-18.41 percent, respectively
ผู้จัดทำ:56403216 : นางสาวร่มเกล้า เชาวน์ชำนาญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญดา เพ็ญโรจน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ สมุหเสนีโต
09520375 : นายณภพ อมรปรีชาชัย
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(docx)
รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology