การนำเสนอผลงาน : วารสารในประเทศ
ชื่อเรื่อง:ลักษมณ เลติกุล และ ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ. 2558. การลดปัญหาการเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์ในการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในแตงกวาด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 46 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2558 หน้า 355-358 Full Text
บทคัดย่อ:ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการวิเคราะห์สารพิษตกค้างด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรี คือ การเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์ในตัวอย่าง โดยองค์ประกอบในตัวอย่างทำให้ความเข้มของสัญญาณของสารพิษตกค้างในตัวอย่างสูงกว่าเมื่ออยู่ในตัวทำละลายบริสุทธิ์และเป็นสาเหตุให้ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับที่ได้มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สารพิษตกค้างที่มีหมู่ไฮดรอกซี่ (-OH), หมู่อะมิโน (R-NH-), หมู่อิมิดาโซลและเบนซิมิดาโซล (-N=), หมู่คาร์บาเมต (-O-CO-NH-), อนุพันธ์ยูเรีย (-NH-CO-NH-) และสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส (-P=O) ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์มากกว่ากลุ่มอื่นๆ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการลดผลกระทบจากการเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์ในการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกำจัดแมลง 68 ชนิด ในผลแตงกวา ด้วยการใช้สารประกอบที่ทำหน้าที่เป็น analytical protectants (APs) 2 ชุด คือ (1) ethylglycerol (10 g/L), D-(+)-gluconic acid-delta-lactone (1 g/L), D-sorbitol (1 g/L), shikimic acid (0.5 g/L) และ (2) D-ribonic acid-gamma-lactone (40 g/L) จากผลการวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างโดยใช้กราฟมาตรฐานที่เตรียมในตัวทำละลายบริสุทธิ์และเติมสารละลายผสม APs ชุด (1) พบว่าการเติมสารละลายผสม APs 100 uL ให้ผลที่ดีกว่าการใช้ 50 uL แต่มีสารพิษตกค้างเพียง 16 ชนิด ที่ให้ความถูกต้องสัมพัทธ์ (relative accuracy) และค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ (recovery) อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80–120% และ 60–120% ตามลำดับ และพบว่าการใช้ D-ribonic acid-gamma-lactone 50 uL และ 100 uL ให้ผลไม่แตกต่างกัน โดยมีสารตกค้างกำจัดแมลง 48 ชนิด มีความถูกต้องสัมพัทธ์และค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
One of the major problems in pesticide residue analysis using gas chromatography-mass spectrometry is a matrix enhancement effect from samples. The matrix components make unexpected higher recovery of pesticides than those in pure solvent. Pesticides including hydroxy (-OH), amino (R-NH-), imidazoles and benzimidazoles (-N=), carbamates (-O-CO-NH-), urea derivatives (-NH-CO-NH-) and several organophosphate compounds (-P=O) are the most affected analytes. Therefore, this research was intended to study the reduction of this problem in an analysis of 68 pesticide residues in cucumber fruits using 2 types of analytical protectants (APs): (1) ethylglycerol (10 g/L), D-(+)-gluconic acid-delta-lactone (1 g/L), D-sorbitol (1 g/L) and shikimic acid (0.5 g/L) and (2) D-ribonic acid-gamma-lactone (40 g/L). The results showed that the pesticide residues analyzed using a calibration curve prepared from pure solvent added with 100 uL of APs (1) showed the better results than 50 uL, but only 16 pesticides could be quantified with acceptable ranges of relative accuracy and recovery (80–120% and 60–120% respectively). Using 50 uL and 100 uL of D-ribonic acid-gamma-lactone did not show significantly difference. Forty eight pesticide residues could be quantified with acceptable ranges of relative accuracy and recovery.
ผู้จัดทำ:54403307 : นางสาวลักษมณ เลติกุล
รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology