การนำเสนอผลงาน : วารสารในประเทศ
ชื่อเรื่อง:พรธเรศ ดวงสุวรรณ, เอลียาห์ เลิศกุศล, นิโลบล โกมลสิงห์, ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ, บุศรากรณ์ มหาโยธี. การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารคลอไพริฟอสตกค้างในพริกแบบรวดเร็วด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 46 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2558 หน้า 351-354. Full Text
Development of a Rapid Method for Chlorpyrifos Residue Determination in Chili using Near Infrared Spectroscopy
บทคัดย่อ:งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตรวจสอบสารคลอไพริฟอสตกค้างในพริกแบบรวดเร็วด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ (Near infrared spectroscopy, NIRs) โดยศึกษาในตัวอย่างพริกอินทรีย์พันธุ์จินดา จำนวน 102 ตัวอย่าง โดยเติมสารคลอไพริฟอสลงในตัวอย่างปั่นละเอียดให้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 0.02-250 ppm วิเคราะห์ปริมาณคลอไพริฟอสในตัวอย่างด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรมิทรี (GC-MS) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเทคนิค NIRs ที่สร้างสมการที่วัดสเปกตรัมจากตัวอย่างปั่นละเอียดวัดในรูปแบบสะท้อนกลับ สารสกัดที่ได้จากการสกัดพริกปั่นละเอียดด้วย อะซิโตไนไตรล์วัดในรูปแบบส่องผ่านแล้วสะท้อนกลับ และการใช้เทคนิค dry extract system for near infrared (DESIR) กับสารสกัดดังกล่าววัดในรูปแบบส่องผ่าน ใช้ความยาวคลื่น 800-2500 นาโนเมตร จากการศึกษาพบว่าการสร้างสมการจากสเปกตรัมที่วัดจากสารสกัดให้ค่าสัมประสิทธ์การตัดสินใจ (R2) สูงที่สุดที่ 0.9476 RMSECV 12.8 ppm RPD 4.37 และค่าความเอนเอียง(bias) -0.434 ในขณะที่สมการที่สร้างจากพริกปั่นละเอียดจะให้ R2 0.9439 RMSECV 13.1 ppm และ RPD 4.22 สมการที่สร้างจากสเปกตรัมของเทคนิค DESIR ของสารสกัดจะให้ R2 0.7240 RMSECV 21.9 ppm และ RPD 1.9 เมื่อพิจารณาจากค่า R2 และ RPD พบว่าเทคนิค NIRs มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ในการวิเคราะห์สารคลอไพริฟอสตกค้างในพริกโดยวัดสเปกตรัมจากตัวอย่างพริกปั่นละเอียดและตัวอย่างปั่นสารที่สกัดด้วยอะซิโตไนไตรล์ อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณค่าร้อยละของความความผิดพลาดของค่าที่ได้จากการทำนายด้วย NIRs กับค่าจริง พบว่ามีความผิดพลาดสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอย่างที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 100 ppm ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม โดยการเพิ่มจำนวนตัวอย่างที่มีความเข้มข้นต่างๆเพื่อใช้ในการสร้างสมการทำนาย
This research was aimed to study the feasibility of near infrared spectroscopy (NIRs) technique for determination of chlorpyrifos residue in chili. A total of 102 organic chili samples cv. Chinda were prepared by homogenizing and then adding standard chlorpyrifos at the concentration range of 0.02-250 ppm. Determination of chlorpyrifos residue in sample was performed by gas chromatography–mass spectrometry (GC-MS). Spectral acquisition were measured from chili paste with reflectance mode, acetonitrile extracted solution with transflectance mode and dry extract system for near infrared (DESIR) technique of extracted solution with transmittance mode, in the wavelength of 800-2500 nm. It was found that the calibration model built from acetonitrile extracted solution gave the best performance with R2 = 0.9476, RMSECV = 12.8 ppm, RPD = 4.37 and bias = -0.434, while the calibration model built from chili paste spectra gave R2= 0.9439, RMSECV = 13.1 ppm , RPD = 4.22 and the calibration model of DESIR gave the worst performance with R2= 0.7240, RMSECV = 21.9 ppm, RPD = 1.9. When consider from R2 and RPD, NIRs was able to determine the chlorpyrifos residue in chili by measuring spectra from paste and acetonitrile extracted solution samples. However, it was found that the percentage error of the predicted values compared to the true values was very high especially for the samples with chlorpyrifos concentration less than 100 ppm. Therefore, more samples should be taken to build the new model.
ผู้จัดทำ:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี
รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ
56403225 : นางสาวเอลียาห์ เลิศกุศล
57403211 : นายพรธเรศ ดวงสุวรรณ
รายงานฉบับสมบูรณ์:การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารคลอไพริฟอสตกค้างในพริกแบบรวดเร็วด้วยเทคนิค พรธเเรศ ดวงสุวรรณ(doc)
การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารคลอไพริฟอสตกค้างในพริกแบบรวดเร็วด้วยเทคนิค พรธเเรศ ดวงสุวรรณ(pdf)
แฟ้มอื่นๆ:โปสเตอร์ การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารคลอไพริฟอสตกค้างในพริกแบบรวดเร็วด้วยเทคนิค พรธเเรศ ดวงสุวรรณ(pptx)
ประกาศนียบัตรการนำเสนอผลงานภาคนิทัศดีเดิน(jpg)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology