การเข้าศึกษา: ระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยีอาหาร แบบเลือกวิชาโทได้  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
 
         สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กำหนดให้หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร เป็นหลักสูตรที่มีวิชาเอก 1 สาขาวิชาคือ สาขาเทคโนโลยีอาหาร และกำหนดให้มีวิชาโท 3 สาขาวิชา  คือ

1. วิชาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร
2.
วิชาโทสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
3.
วิชาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัส
*ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารมีมติยุติการเรียนการสอนในวิชาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัสสำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป (ไม่มีผลกระทบต่อนักศึกษาปัจจุบัน)

         โดยนักศึกษาต้องเลือกสาขาวิชาโทก่อนขึ้นภาคการศึกษาที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ทั้งนี้เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเรียนวิชาโทนั้นภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร พิจารณาจากการเลือกวิชาโทของนักศึกษาโดยให้นักศึกษามีโอกาสในการเลือกเรียนตามความสนใจ โดยตัดสินผู้มีสิทธิเลือกเรียนวิชาโทจากการเรียงลำดับตามค่าระดับคะแนนเฉลี่ย ซึ่งไม่นับรวมคะแนนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และคะแนนในหมวดวิชาเลือกเสรี สำหรับจำนวนผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในวิชาโทเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร หรือวิชาโทพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทางภาควิชาเทคโนโลยีอาหารจะดำเนินการประกาศให้นักศึกษาทราบก่อนการเลือกเรียนวิชาโทอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา


รายละเอียดหลักสูตร

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 20 เดือน เมษายน พ.ศ. 2565

ชื่อหลักสูตร        วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ภาษาอังกฤษ      Bachelor of Science (Food Technology)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
รูปแบบ    หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร  4  ปี

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes) PLOs

 

ลำดับที่

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

Cognitive Domain (Knowledge) (Bloom’sTaxonomy (Revised))

Psychomotor

Domain

(Skills)

Affective

Domain

(Attitude)

R

U

Ap

An

E

C

S

At

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

PLO1

อธิบายความหมายและคุณค่าของศิลปะและการสร้างสรรค์ได้

 

P

 

 

 

 

 

 

PLO2

อภิปรายความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้

 

P

 

 

 

 

 

 

PLO3

ระบุความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการได้

 

P

 

 

 

 

 

 

PLO4

มีทักษะการใช้ภาษา และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบทการสื่อสารที่หลากหลาย

 

 

P

 

 

 

 

 

PLO5

เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ

 

 

P

 

 

 

 

 

PLO6

แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิต

 

 

P

 

 

 

 

P

PLO7

แสดงออกซึ่งทักษะความสัมพันธ์

ระหว่างบุคคล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

 

P

 

 

 

 

P

PLO8

ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานหรือดำเนินโครงการได้

 

 

P

 

 

 

 

 

PLO9

คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อออกแบบนวัตกรรมได้

 

 

 

P

 

 

 

 

หมวดวิชาเฉพาะ

PLO10

อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ และชีววิทยาของอาหารและวิธีการแปรรูป การควบคุมคุณภาพและการจัดการความปลอดภัยทางอาหารได้

P

P

 

 

 

 

P

 

PLO11

แสดงทักษะและความ

สามารถในวิชาโทที่นักศึกษา

เลือกเรียน

 

 

P

 

 

 

P

 

วิชาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูป

Sub PLO11.1

เลือกวิธีการแปรรูป วิธีการจัดการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมได้

 

 

P

 

 

 

P

 

วิชาโทสาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์

Sub PLO11.2

พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ได้

 

 

P

 

 

 

P

 

วิชาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัส

Sub PLO11.3

จัดการทดสอบทางประสาทสัมผัสได้

 

 

P

 

 

 

P

 

PLO12

นำความรู้ไปใช้ในการจัดการหรือการแก้ปัญหาหรือการคิด วิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารโดยคำนึงถึงจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

 

 

P

P

 

 

 

P

PLO13

สามารถทำงานเป็นทีมได้ทั้งฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

P

 

 

 

 

P


สถานที่จัดการเรียนการสอน
        คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (1) มีผลตั้งแต่ ภาคต้นปีการศึกษา 2567
นำเงื่อนไข วัดผลการเรียนรู้เป็น S หรือ U ออกจากรายวิชาดังต่อไปนี้ (เปลี่ยนเป็นวัดผลเป็นเกรด)
612201    สถิติสำหรับเทคโนโลยีอาหาร
600201    ความคิดสร้างสรรค์ในโลกของเทคโนโลยีและวิศวกรรม 1
600202    ความคิดสร้างสรรค์ในโลกของเทคโนโลยีและวิศวกรรม 2
612101    รากศิลปากรและการประยุกต์ในเทคโนโลยีอาหาร
612102    การจัดการวัตถุดิบทางการเกษตรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
600302    เทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์คอมพิวเตอร์สำหรับการวิจัยด้านอาหาร


วันที่แก้ไขข้อมูล:  17 กันยายน พ.ศ. 2567



หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 (สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2555 - 2559)

กิจกรรม

        ภาควิชาเทคโนโลยีอาหารเปิดโอกาสและสนับสนุนให้นักศึกษาได้มีกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนในหลายรูปแบบ เช่น การช่วยงานในโครงการวิจัยของอาจารย์ การเดินทางไปเยี่ยมชมสายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร กิจกรรมกีฬา กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมผลิตเบเกอรี่ในเทศการปีใหม่ เป็นต้น


   


เทคโนโลยีอาหาร เรียนอะไร ทำงานอะไร

     เทคโนโลยีอาหาร (Food Technology) เป็นการศึกษาในสาขาวิชาประเภทที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ซึ่งหมายถึงการศึกษาเพื่อนำเอาหลักการด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติงานจริง นั่นคือการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรให้เป็นสินค้าอาหารแปรรูปชนิดต่างๆ เช่น อาหารกระป๋อง อาหารอบแห้ง อาหารแช่เย็นและแช่เยือกแข็ง เครื่องดื่ม รวมถึงเครื่องปรุงและวัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น ดังนั้นการเรียนด้านเทคโนโลยีอาหารจึงมีเป้าหมายหลักเพื่อผลิตบัณฑิตผู้ที่จะไปทำงานในอุตสาหกรรมอาหารประเภทต่างๆ ซึ่งแตกต่างกับการเรียนด้านคหกรรมศาสตร์ หรือการเรียนหลักสูตรเชฟปรุงอาหารซึ่งเน้นไปที่การเตรียมอาหารในระดับครัวเรือนหรือสถานบริการอาหาร อย่างเช่น ร้านอาหาร หรือโรงแรม เป็นต้น

     สำหรับอาชีพของนักเทคโนโลยีอาหาร เรามักจะแยกงานของผู้ที่จบเทคโนโลยีอาหารเป็นงานใน 3 สายหลักๆ ได้แก่ (1) สายการผลิต หมายถึงเป็นผู้ควบคุมดูแลและจัดการพนักงานหรือเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอาหารให้มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตอาหารได้ปริมาณและคุณภาพตามเป้าหมายของบริษัท (2) สายพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมายถึงเป็นผู้ที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่  หรือปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้เหมาะสมกับตลาดและความต้องการของลูกค้าใหม่ๆ (3) สายควบคุมและประกันคุณภาพ เป็นผู้ดูแลเรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ผลิตและการวางระบบความปลอดภัยอาหารและระบบประกันคุณภาพในโรงงาน

     นอกจากนี้ผู้ที่จบสายเทคโนโลยีอาหารยังสามารถทำงานในตำแหน่งอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น ในฝ่ายวางแผนการผลิตและจัดซื้อ ฝ่ายการจัดการคลังสินค้าและฝ่ายขาย เป็นต้น และยังมีผู้ที่จบในสาขาเทคโนโลยีอาหารจำนวนไม่น้อยที่เข้าทำงานในหน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สถาบันอาหาร สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น ซึ่งในแต่ละสายงานนั้นถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในหน้าที่ซึ่งจำเป็นต้องมีทักษะความถนัดของแต่ละบุคคล แต่ทุกสายจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในในอุตสาหกรรมอาหารเช่นกัน

    ปัจจุบันผู้ที่จบปริญญาตรีส่วนหนึ่งมีความสนใจในการประกอบธุรกิจของตนเองหลังจบการศึกษาซึ่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ดังนั้นจึงมีการสนับสนุนของภาครัฐให้แก่ผู้ประกอบการในสาขานี้ค่อนข้างมาก ดังนั้นการเลือกศึกษาในสาขาเทคโนโลยีอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งสำหรับการประกอบธุรกิจของตนเองในอนาคต

  


จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา รวม 2058 ราย (ณ วันที่ 9 พ.ย. 2567)
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology